เครื่องกั้นปีกผีเสื้อ เป็นเครื่องกั้นที่นิยมใช้กันใน ระบบประตูปีกผีเสื้อ BTS จริงๆแล้วเป็นเครื่องกั้นที่มีความแม่นยำในการตรวจจับสูงมาก ตามสเปคแล้ว สามารถรองรับการผ่านของคนได้ถึง 30 – 50 คน ต่อนาที เมื่อตั้งระบบเป็น Normal Open หรือการเปิดตลอด แต่หากไม่มีการทาบบัตร จะปิดนั้นเอง
ด้วยความไวของตัวเครื่อง และความแม่นยำนั้น กล่าวได้ว่า หากคนเดินแล้วไม่มีสัมภาระ เครื่องกั้นจะไม่มีทางหนีบ (ตามสเปค) แต่แน่นอนว่าหลายๆคนต้องค้านเราในใจว่า ในชีวิตจริงมันหนีบ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อน ว่าทำไมระบบประตูปีกผีเสื้อ BTS ถึงหนีบ?
จากในภาพด้านบน เราจะเห็นได้ว่า เครื่องกั้นทาง รูปแบบปีกผีเสื้อนั้น จะมีเซ็นเซอร์ระบบอยู่บริเวณตัวเครื่อง 5 – 6 จุดตามแต่ละรุ่น ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์กันหนีบ นั่นเอง (ในภาพจะเห็นเป็นจุด กลมๆ 3 จุดเรียงกันด้านขอบบนตัวเครื่อง) เซ็นเซอร์นี้ โดยปกติจะมีการตรวจจับการผ่านหากมีการผ่านทั้งหมด 5 จุดแล้ว จะมีการปิดประตูทันที และเซ็นเซอร์ ไม่ได้มีการตรวจจับเรียงกันแต่อย่างใด ขอแค่มีการผ่านจุดต่างๆของเซ็นเซอร์ ก็จะมีการปิด ดังนั้นเราจะเห็นภาพได้ว่า ทำไมประตูถึงหนีบ การหนีบนั่นเกิดจาก การที่เข้าต่อเนื่องกันเกินไป เมื่อคนแรกผ่านเซ็นเซอร์ทั้งหมดระหว่างเราทาบบัตร หรือหยอดเหรียญ เซ็นเซอร์ก็จะเริ่มนับการผ่าน แน่นอนว่าหากสัมภาระของเรา หรือ ของคนก่อนหน้าเรา โดนเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์ก็ถือว่าผ่านแล้วเช่นกัน ก็จะเกิดการหนีบ
การตั้งหน่วง เซ็นเซอร์ ความเร็วในการเปิดปิด และรวมถึงการเสียหายของเซ็นเซอร์เองก็มีผลทำให้ เซ็นเซอร์ไม่แม่นยำเท่าที่ควรจึงเกิดการหนีบได้
สรุปได้ว่าขั้นตอนการหนีบของ ระบบประตูปีกผีเสื้อ BTS มีดังนี้
- เดินผ่านเซ็นเซอร์ติดกันเกินไป
- สัมภาระผ่านเซ็นเซอร์ไปก่อนตัว (แก้ด้วยการยกสัมภาระผ่านด้านบนตัวเครื่องให้พ้นเซ็นเซอร์ตรวจจับ)
- ปัญหาการหน่วงของตัวเครื่อง ที่มีการตั้งเวลาหน่วง ในการปิดปีกที่ไวเกินไป
- การเสียของเซ็นเซอร์บางตัว จึงไม่มีการตรวจจับ
แบบนี้หลายๆท่านคงถามว่า มีแต่ How to หนีบ มีทางแก้ไหม จริงๆ ก็คือทำในทางตรงข้ามกับการที่มันหนีบนั่นแหละ แต่ว่าหลายๆคนเคยพบว่า เครื่องกั้นแบบบานเปิดของทางญี่ปุ่นไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ทำไมเราไม่ใช้ เราคิดว่าคงเป็นไปตามเหตุผลนี้
- ราคา แน่นอนปัจจัยหลักของทุกอย่าง คือ เงิน ราคาเครื่องสูงกว่าแบบปีกผีเสื้อพอสมควร
- การเสียหาย ปีกอคิลิค ของ Speed Gate มีอัตราความเสียหายที่ง่ายกว่า เนื่องจากความบางของปีก แน่นอนว่าปีกเหล็ก หากปิดด้วยความเร็ว ก็ฟาดเจ็บเหมือนเดิม
คิดว่าเหตุผลหลักๆ คงเป็นในส่วนนี้ และหวังว่าบทความนี้จะทำให้ คุณเข้าใจ ในระบบเครื่องกั้นปีกผีเสื้อ หรือระบบเครื่องกั้นที่ใช้ในสถานีรถไฟฟ้ากันได้ดีขึ้น